logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • E-Books อื่นๆ
  • Apps
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
ค้นหา
    

ค้นหาบทเรียน

กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทเรียนทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • หน้าแรก
  • บทเรียน
  • คณิตศาสตร์
  • การหาร ระดับชั้น ป.3

การหาร ระดับชั้น ป.3

โดย :
ปิยวดี เอ่งฉ้วน
เมื่อ :
วันพฤหัสบดี, 02 กรกฎาคม 2563
Hits
23999
  • 1. Introduction
  • 2. การหารยาว การหารสั้น
  • 3. โจทย์ปัญหาการหาร
  • - All pages -

การหาร การหารลงตัว การหารไม่ลงตัว

          การหาร คือ การแบ่งออกหรือเอาออกครั้งละเท่า ๆ กัน หลายๆ ครั้ง จนได้ค่าเศษเป็น “0” เรียกว่า     การหารลงตัว แต่ถ้าค่าเศษไม่เป็น “0” เรียกว่า การหารไม่ลงตัว

9628

ภาพประกอบบทเรียนเรื่องการหาร
ที่มา : ปิยวดี  เอ่งฉ้วน

  1. ประโยคสัญลักษณ์ 10 ÷ 2 = 5 อ่านว่า สิบหารด้วยสอง เท่ากับห้า

          เรียก ÷ ว่า เครื่องหมายหาร

          เรียก 10 ว่า ตัวตั้ง        แทน A

          เรียก 2  ว่า ตัวหาร       แทน B

          เรียก 5  ว่า ผลหาร       แทน C

9628 1

  1. ความสัมพันธ์ของการคูณ และการหาร โดยใช้ DIY MATH FAMILY TRIANGLES

          A  B = C              

9628 2

  

DIY MATH FAMILY TRIANGLES การคูณกับการหาร จะได้ ดังนี้

9628 3

   

  

   ตัวอย่างที่ 1   10 ÷ 2 = 5 .............................. (A  B = C)

    DIY MATH FAMILY TRIANGLES การคูณกับการหาร

        9628 4

         ดังนั้น การหาผลหารของ 10 ÷ 2 = 5

          ตรวจคำตอบ

          DIY MATH FAMILY TRIANGLES การคูณกับการหาร

                          B × C      = A

                          2 × 5      = 10

          แสดงว่า 10 ÷ 2 = 5 เป็นคำตอบที่ถูก

  1. การหารลงตัว

การหารลงตัว คือ การแบ่งจำนวนทีละจำนวนเท่า ๆ กัน โดยแบ่งแล้วพอดี มีเศษเป็น 0

ตัวอย่างที่ 2   18 ÷ 3 = 6

9628 7.1

          

จากสามเหลี่ยมความสัมพันธ์ระหว่างการคูณกับการหาร  จะได้ ดังนี้

                   18 ÷ 3 = 6               (1)

                   18 ÷ 6 = 3               (2)

                   3 × 6   = 18              (3)

                   6 × 3   = 18              (4)

          ดังนั้น การหาผลหารของ 18 ÷ 3 = 6

ตรวจคำตอบ

          DIY MATH FAMILY TRIANGLES การคูณกับการหาร

         9628 7.2

         

          B × C = A

          3 × 6   = 18

          แสดงว่า 18 ÷ 3 = 6 เป็นคำตอบที่ถูก

  1. การหารไม่ลงตัว

          การหารโดยลบตัวตั้งด้วยตัวหารซ้ำ ๆ กัน จนกระทั้งได้ผลลบน้อยกว่าตัวหาร และมากกว่าศูนย์ เป็นการหารไม่ลงตัว หรือการหารเหลือเศษ ผลลบที่น้อยกว่าตัวหาร เรียกว่า เศษ

          (การหารลงตัวถือว่าเศษเท่ากับ “0”)

 

ตัวอย่าง 3       17 ÷ 3 = ?

วิธีทำ                     

9628 8

 

เนื่องจาก         (12 + 5) ÷ 3    = ?

                    ? = (12 + 5) ÷ 3

                      = (12 ÷ 3) + (5 ÷ 3)

                      = 4 เศษ 0 + 1 เศษ 2

                      = 5 เศษ 2

ดังนั้น   17 ÷ 3 = 5 เศษ 2

ตอบ 5 เศษ 2

ตรวจคำตอบ

การหารไม่ลงตัว ให้ E = เศษ  

9628 9

9628 10

 

17 ÷ 3 = 5 เศษ 2

กรณีหารไม่ลงตัว จะได้    (B × C) + E      = A

          ดังนั้น             (3 × 5) + 2      = A

                              15 + 2           = 17

                              A                  = 17

จงหาผลหารต่อไปนี้

(1) 75 ÷ 3 = ?

วิธีทำ            

9628 11

          75 ÷ 3 =        (60 ÷ 3) + (15 ÷ 3)

                             =        20 + 5

                             =        25

ตอบ 25

ตรวจคำตอบ     75 ÷ 3 = 25          

9628 12                                 

          B × C = A , 3 × 25 = 75

          แสดงว่าคำตอบถูกต้อง

(2) 82 ÷ 6 = ?

วิธีทำ  

 9628 13                            

                    82 ÷ 6 =        (60 ÷ 6) + (22 ÷ 6)

                             =        10 เศษ 0 + 3 เศษ 4

                             =        13 เศษ 4

ตอบ 13 เศษ 4

ตรวจคำตอบ    82 ÷ 6 = 13 เศษ 4

9628 14

          กรณีหารไม่ลงตัว จะได้    (B × C) + เศษ   = A

                                      (6 × 13) + 4    = 82

          แสดงว่าคำตอบถูกต้อง

(3) 333 ÷ 9 = ?

วิธีทำ                               

         9628 15

          333 ÷ 9         =        (270 ÷ 9) + (63 ÷ 9)

                             =        30 + 7

                             =        37

ตอบ 37

 

ตรวจคำตอบ      333 ÷ 9 = 37

9628 16

          B × C   = A หรือ ตัวหารคูณผลหารเท่ากับตัวตั้ง

          9 × 37 = 333

          แสดงว่าคำตอบถูกต้อง

(4) 675 ÷ 8 = ?

วิธีทำ            

9628 17

          675 ÷ 8         =        (640 ÷ 8) + (35 ÷ 8)

                             =        80 เศษ 0 + 4 เศษ 3

                             =        84 เศษ 3

ตอบ 84 เศษ 3

ตรวจคำตอบ   675 ÷ 8 = 84 เศษ 3

9628 18

          กรณีหารไม่ลงตัว จะได้    (B × C) + เศษ   = A

                                      (8 × 84) + 3    = 675

          แสดงว่าคำตอบถูกต้อง

แหล่งที่มา

ทรงวิทย์  สุวรรณธาดา และคณะ. (2553).  คณิตศาสตร์ ป.3. (ปรับปรุงใหม่).  กรุงเทพฯ; บริษัท สำนักพิมพ์แม็ค จำกัด.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2560).  คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3.  กรุงเทพฯ;    องค์การค้าของ สกสค.

Martha Ruttle. (2010).  BRIDGES IN MATHEMATICS Grade 4 Practice Book Blacklines. United States of America : The Math Learning Center. 

นิติกร ระดม. 2551. คู่มือครู อจท. คณิตศาสตร์ ป.3.  กรุงเทพมหานคร ; อักษรเจริญทัศน์

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 2551.  หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานคณิตศาสตร์ ป.3.กรุงเทพมหานคร ; องค์การค้าของ สกสค.  

Gare, B., & Hoven, J. (2007). Singapore Math Using the Bar Model Approach : Simple or Complex. Educational Leadership. 65 NO 3 November 2007.

Greative Constructions. (2006). FACT FAMILIES.  สืบค้นเมื่อ 5 ธันวาคม 2561, จาก http:// greenmonsterlearning.com/pdf/CreativeConstructions.pdf

www.everydaymathonline.com. 4.6 Multiplication and division Fact Families. สืบค้นเมื่อ  5 ธันวาคม 2561, จาก https://emccss.everydaymathonline.com/em-crosswalk/pdf/3/g3_tlg_lesson_4_6.pdf

www.everydaymathonline.com. 4.6 Multiplication and division Fact Families.สืบค้นเมื่อ  5 ธันวาคม 2561, จาก https://emccss.everydaymathonline.com/em-crosswalk/pdf/1/g1_tlg_lesson_6_3.pdf

Math-Drills.com. (2005-2018).  fact family worksheets.  สืบค้นเมื่อ 5 ธันวาคม 2561, จาก https://www.math-drills.com/factfamilyworksheets.php

THE BLOG SURGERY. (2018). DIY Math Fact Family Triangles.สืบค้นเมื่อ 5 ธันวาคม 2561, จาก https://rainydaymum.co.uk/diy-math-fact-family-triangles/


Return to contents

การหารยาว การหารสั้น

DIY MATH FAMILY TRIANGLES การคูณกับการหาร

A  B = C, B × C = A, A  C = B

9629 1

ตรวจคำตอบการหารลงตัว คือ ตัวหารคูณผลหารเท่ากับตัวตั้ง หรือ B × C = A

9629 2

  1. การหารที่ตัวตั้งสองหลัก ตัวหารและผลมีหนึ่งหลัก

ตัวอย่างที่ 1

          56 ÷ 8 = ?

วิธีทำ

9629 3

          = (40 ÷ 8) + (16 ÷ 8)

          = 5 + 2

          = 7

ตอบ 7

ตรวจคำตอบ  56 ÷ 8 = 7

9629 4                                              

ดังนั้น 8 × 7 = 56

แสดงว่าคำตอบถูกต้อง

 

ตัวอย่างที่ 2

          43 ÷ 9 = ?

วิธีทำ

9629 5

          = (36 ÷ 9)

          = 4 เศษ 7

ตอบ 4 เศษ 7

ตรวจคำตอบ  43 ÷ 9 =  4 เศษ 7

9629 6

          กรณีหารไม่ลงตัว จะได้    (B × C) + เศษ   = A

                                      (9 × 4) + 7      = 43

          แสดงว่าคำตอบถูกต้อง

  1. การหารที่ตัวตั้งสองหลัก ตัวหารมีหนึ่งหลักและผลหารมีสองหลัก

ตัวอย่างที่ 1

          85 ÷ 7 = ?

9629 7

วิธีทำ

          = (70 ÷ 7) + (15 ÷ 7)

          = 10 เศษ 0 + 2 เศษ 1

          = 12 เศษ 1

ตอบ 12 เศษ 1

ตรวจคำตอบ    85 ÷ 7 = 12 เศษ 1

9629 8

          กรณีหารไม่ลงตัว จะได้    (B × C) + เศษ   = A

                                      (7 × 12) + 1    = 85

          แสดงว่าคำตอบถูกต้อง

ตัวอย่างที่ 2

          55 ÷ 5 = ?

9629 9

วิธีทำ                                         

          = (50 ÷ 5) + (5 ÷ 5)

          = 10 + 1

          = 11

ตอบ 11

ตรวจคำตอบ  55 ÷ 5 = 11 

9629 10                                           

ดังนั้น 5 × 11 = 55

แสดงว่าคำตอบถูกต้อง

  1. การหารที่ตัวตั้งสามหลัก ตัวหารมีหนึ่งหลัก

ตัวอย่างที่ 1

          247 ÷ 7 = ?

วิธีทำ

9629 11

          = (210 ÷ 7) + (37 ÷ 7)

          = 30 + 5 เศษ 2

          = 35 เศษ 2

ตอบ 35 เศษ 2

ตรวจคำตอบ  247 ÷ 7 = 35 เศษ 2

9629 12

กรณีหารไม่ลงตัว จะได้    (B × C) + เศษ   = A

                             (7 × 35) + 2    = 247

แสดงว่าคำตอบถูกต้อง

ตัวอย่างที่ 2

          124 ÷ 4 = ?

วิธีทำ

9629 13

          = (120 ÷ 4) + (4 ÷ 4)

          = 30 + 1

          = 31

ตอบ 31

ตรวจคำตอบ  124 ÷ 4  = 31   

9629 14                                       

ดังนั้น 4 × 31 = 124

แสดงว่าคำตอบถูกต้อง

  1. การหารที่ตัวตั้งมีสี่หลัก ตัวหารมีหนึ่งหลัก

ตัวอย่างที่ 1

          5,845 ÷ 5 = ?

วิธีทำ

9629 15

          = (5,500 ÷ 5) + (300 ÷ 5) + (45 ÷ 5)

          = 1,100 + 60 + 9

          = 1,169

ตอบ 1,169

ตรวจคำตอบ  5,845 ÷ 5 = 1,169        

9629 16

ดังนั้น 5 × 1,169 = 5,845

แสดงว่าคำตอบถูกต้อง

ตัวอย่างที่ 2

          6,673 ÷ 6 = ?

วิธีทำ

9629 17

          = (6,600 ÷ 6) + (60 ÷ 6) + (13 ÷ 6)

          = 1,100 เศษ 0 + 10 เศษ 0 + 2 เศษ 1

          = 1,112 เศษ 1

ตอบ 1,112 เศษ 1

ตรวจคำตอบ    6,673 ÷ 6 = 1,112 เศษ 1

                                 = (ผลหาร × ตัวหาร) + เศษ = ตัวตั้ง

                                   = (1,112 × 6) + 1 = 6,673

9629 18

การหารสั้น

  1. การหารที่ตัวตั้งสองหลัก ตัวหารและผลมีหนึ่งหลัก

ตัวอย่างที่ 1

          23 ÷ 5 = ?

วิธีทำ            

9629 19

ตอบ 4 เศษ 3

ตรวจคำตอบ     23 ÷ 5 =  4 เศษ 3

                               = (ผลหาร × ตัวหาร) + เศษ = ตัวตั้ง

                               = (4 × 5) + 3 = 23

9629 20

ตัวอย่างที่ 2

          68 ÷ 8 = ?

วิธีทำ

9629 21

ตอบ 8 เศษ 4

ตรวจคำตอบ     68 ÷ 8 = 8 เศษ 4

                               = (ผลหาร × ตัวหาร) + เศษ = ตัวตั้ง

                               = (8 × 8) + 4 = 68

9629 22

  1. การหารที่ตัวตั้งสองหลัก ตัวหารมีหนึ่งหลักและผลหารมีสองหลัก

ตัวอย่างที่ 1

          80 ÷ 5 = ?

วิธีทำ  

9629 23

 

ตอบ 16

ตรวจคำตอบ    80 ÷ 5 = 16

                               = (ผลหาร × ตัวหาร) = ตัวตั้ง

                              = (16 × 5) = 80

9629 24

ตัวอย่างที่ 2

          99 ÷ 8 = ?

วิธีทำ

 9629 25

ตอบ 12 เศษ 3

ตรวจคำตอบ    99 ÷ 8 = 12 เศษ 3

                               = (ผลหาร × ตัวหาร) + เศษ = ตัวตั้ง

                               = (12 × 8) + 3 = 99

9629 26

  1. การหารที่ตัวตั้งสามหลัก ตัวหารมีหนึ่งหลัก

ตัวอย่างที่ 1

          558 ÷ 9 = ?

วิธีทำ

 9629 27

ตอบ 62

ตรวจคำตอบ    558 ÷ 9 = 62

                                = (ผลหาร × ตัวหาร) = ตัวตั้ง

                                = (62 × 9) = 558

 9629 28

 ตัวอย่างที่ 2

          267 ÷ 3 = ?

วิธีทำ

 9629 29

ตอบ 89

ตรวจคำตอบ     267 ÷ 3 = 89

                                = (ผลหาร × ตัวหาร) = ตัวตั้ง

                               = (89 × 3) = 267

9629 30

  1. การหารที่ตัวตั้งมีสี่หลัก ตัวหารมีหนึ่งหลัก

ตัวอย่างที่ 1

          7,324 ÷ 8 = ?

วิธีทำ

 9629 31

ตอบ 915 เศษ 4

ตรวจคำตอบ     7,324 ÷ 8 = 915 เศษ 4

                                   = (ผลหาร × ตัวหาร) + เศษ = ตัวตั้ง

                                   = (915 × 8) + 4 = 7,324

9629 32

ตัวอย่างที่ 2

          4,845 ÷ 5 = ?

วิธีทำ

 9629 33

ตอบ 969

ตรวจคำตอบ     4,845 ÷ 5 = 969

                                   = (ผลหาร × ตัวหาร) = ตัวตั้ง

                                   = (969 × 5) = 4,845

9629 34

แหล่งที่มา

ทรงวิทย์  สุวรรณธาดา และคณะ. (2553).  คณิตศาสตร์ ป.3. (ปรับปรุงใหม่).  กรุงเทพฯ; บริษัท สำนักพิมพ์แม็ค จำกัด.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2560).  คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3.  กรุงเทพฯ;    องค์การค้าของ สกสค.

Martha Ruttle. (2010).  BRIDGES IN MATHEMATICS Grade 4 Practice Book Blacklines. United States of America : The Math Learning Center. 

นิติกร ระดม. 2551. คู่มือครู อจท. คณิตศาสตร์ ป.3.  กรุงเทพมหานคร ; อักษรเจริญทัศน์

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 2551.  หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานคณิตศาสตร์ ป.3.กรุงเทพมหานคร ; องค์การค้าของ สกสค.  

Gare, B., & Hoven, J. (2007). Singapore Math Using the Bar Model Approach : Simple or Complex. Educational Leadership. 65 NO 3 November 2007.

Greative Constructions. (2006). FACT FAMILIES.  สืบค้นเมื่อ 5 ธันวาคม 2561, จาก http:// greenmonsterlearning.com/pdf/CreativeConstructions.pdf

www.everydaymathonline.com. 4.6 Multiplication and division Fact Families. สืบค้นเมื่อ  5 ธันวาคม 2561, จาก https://emccss.everydaymathonline.com/em-crosswalk/pdf/3/g3_tlg_lesson_4_6.pdf

www.everydaymathonline.com. 4.6 Multiplication and division Fact Families.สืบค้นเมื่อ  5 ธันวาคม 2561, จาก https://emccss.everydaymathonline.com/em-crosswalk/pdf/1/g1_tlg_lesson_6_3.pdf

Math-Drills.com. (2005-2018).  fact family worksheets.  สืบค้นเมื่อ 5 ธันวาคม 2561, จาก https://www.math-drills.com/factfamilyworksheets.php

THE BLOG SURGERY. (2018). DIY Math Fact Family Triangles.สืบค้นเมื่อ 5 ธันวาคม 2561, จาก https://rainydaymum.co.uk/diy-math-fact-family-triangles/


Return to contents

โจทย์ปัญหาการหาร

ความหมายของการหาร

  1. เมื่อนำจำนวนหนึ่งจำนวนมาแบ่งเป็นกลุ่ม กลุ่มละเท่า ๆ กัน ต้องการหาว่าแบ่งได้กี่กลุ่ม ทำได้ด้วยการหาร เช่น ครูมีนักเรียน 6 คน เข้ากลุ่ม กลุ่มละ 2 คน จัดได้กี่กลุ่ม

9630 1

                   ครูจัดนักเรียน 6 คน เข้ากลุ่ม กลุ่มละ 2 คน ได้ 3 กลุ่ม

                   เขียนในรูปการหารด้วย 6 ÷ 2 = 3

                   เรียก 3 ว่าผลหาร ซึ่งแสดงจำนวนกลุ่ม

  1. ผลหารแสดงจำนวนสิ่งของในกลุ่ม หรือจำนวนกลุ่มของสิ่งของ เช่น ครูจัดนักเรียน 6 คน เข้ากลุ่ม 2 กลุ่มละเท่า ๆ กัน ได้กลุ่มละกี่คน

9630 2
2

                   ครูจัดนักเรียน 6 คน เข้ากลุ่ม 2 กลุ่ม กลุ่มละเท่า ๆ กัน ได้กลุ่มละ 3 คน

                   เขียนในรูปการหารด้วย 6 ÷ 2 = 3

                   เรียก 3 ว่าผลหาร ซึ่งแสดงจำนวนสิ่งของในกลุ่ม

ตัวอย่างที่ 1    

ครูมีเงิน 280 บาท ซื้อขนมเพื่อแจกเด็กห่อละ 9 บาท ครูจะซื้อขนมได้ทั้งหมดกี่ห่อ และเหลือเงินกี่บาท

วิเคราะห์โจทย์ปัญหา

          - ครูมีเงิน 280 บาท

          - ซื้อขนมเพื่อแจกเด็กห่อละ 9 บาท

          - ครูจะซื้อขนมได้ทั้งหมดกี่ห่อ

          - เหลือเงินกี่บาท

ขนม 1 ห่อ       =        9 บาท

ขนม 10 ห่อ      =        90 บาท

9630 3

ประโยคสัญลักษณ์ 280 ÷ 9 = ?

วิธีทำ

          ครูมีเงิน                              280     บาท

          ซื้อขนมเพื่อแจกเด็กห่อละ              9     บาท

          เนื่องจาก 280 ÷ 9 = 31 เศษ 1

          ดังนั้น ครูจะซื้อขนมได้ทั้งหมด 31 ห่อ เหลือเงิน 1 บาท

ตอบ 31 ห่อ เหลือเงิน 1 บาท

วิธีคิด   280 ÷ 9 = ?

 9630 4

ตัวอย่างที่ 2    

ตุ๊กซื้อเสื้อแบบเดียวกัน 7 ตัว เป็นเงิน 1,750 บาท ตุ๊กซื้อเสื้อราคาตัวละกี่บาท

วิเคราะห์โจทย์ปัญหา

          - ตุ๊กซื้อเสื้อแบบเดียวกัน 7 ตัว

          - เป็นเงิน 1,750 บาท

          - ตุ๊กซื้อเสื้อราคาตัวละกี่บาท

 

 9630 5

 

ประโยคสัญลักษณ์ 1,750 ÷ 7 = ?

วิธีทำ

          ตุ๊กซื้อเสื้อแบบเดียวกัน                       7        ตัว

          เป็นเงิน                                        1,750   บาท

          เนื่องจาก 1,750 ÷ 7 = 250

          ดังนั้น ตุ๊กซื้อเสื้อราคาตัวละ 250 บาท

ตอบ 250 บาท

วิธีคิด 1,750 ÷ 7 = ?

9630 6

ดังนั้น 7 × 250 = 1,750

ตัวอย่างที่ 3.

แม่มีดอกบัว 30 ดอก มัดเป็นกำ กำละ 5 ดอก จะได้กี่กำ

วิเคราะห์โจทย์ปัญหา

          - แม่มีดอกบัว 30 ดอก

          - กำละ 5 ดอก

          - จะได้กี่กำ

9630 7

ประโยคสัญลักษณ์ 30 ÷ 5 = ?

วิธีทำ  

          แม่มีดอกบัว                30       ดอก

          มัดเป็นกำ กำละ             5      ดอก

          เนื่องจาก 30 ÷ 5 = 6

          ดังนั้น แม่มีดอกบัว มัดเป็นกำ ได้ 6 กำ

ตอบ  6 กำ

ตรวจคำตอบ 30 ÷ 5 = 6

9630 8

ดังนั้น 5 × 6 = 30

ตัวอย่างที่ 4.

ป้ามีที่ดิน 750 ตารางวา แบ่งออกเป็น 5 แปลง แปลงละเท่า ๆ กัน จะแบ่งที่ดินได้แปลงละกี่ตารางวา

วิเคราะห์โจทย์ปัญหา

          - ป้ามีที่ดิน 750 ตารางวา

          - แบ่งออกเป็น 5 แปลง แปลงละเท่า ๆ กัน

          - จะแบ่งที่ดินได้แปลงละกี่ตารางวา

9630 9

ประโยคสัญลักษณ์ 750 ÷ 5 = ?

วิธีทำ  

          ป้ามีที่ดิน                   750     ตารางวา

          แบ่งออกเป็น                   5    แปลง แปลงละเท่า ๆ กัน

          เนื่องจาก 750 ÷ 5 = 150

          จะแบ่งที่ดินได้แปลงละ 150 ตารางวา

ตอบ 150 ตารางวา

วิธีคิด 750 ÷ 5 = ?

9630 10

ดังนั้น 5 × 150 = 750

 

ตัวอย่างที่ 5.

หน่องมีสติกเกอร์ 2,150 รูป นำไปใส่ซอง ซองละ 6 รูป จะต้องใช้ซองกี่ซอง และเหลือสติกเกอร์กี่รูป

วิเคราะห์โจทย์ปัญหา

          - หน่องมีสติกเกอร์ 2,150 รูป

          - นำไปใส่ซอง ซองละ 6 รูป

          - จะต้องใช้ซองกี่ซอง เหลือสติกเกอร์กี่รูป

9630 11

ประโยคสัญลักษณ์ 2,150 ÷ 6 = ?

วิธีทำ

          หน่องมีสติกเกอร์                             2,150   รูป

          นำไปใส่ซอง ซองละ                                6   รูป

          เนื่องจาก 2,150 ÷ 6 = 358 เศษ 2

          ดังนั้น ต้องใช้ซอง 358 ซอง และเหลือสติกเกอร์ 2 รูป

ตอบ 358 ซอง เหลือสติกเกอร์ 2 รูป

วิธีคิด 2,150 ÷ 6 = ?

9630 12

          กรณีหารไม่ลงตัว จะได้    (6 × 358) + 2   = 2,150

ตัวอย่างที่ 6.

ขวัญเลี้ยงปลาทองไว้ 570 ตัว แบ่งใส่อ่าง อ่างละ 95 ตัว จะได้กี่อ่าง

วิเคราะห์โจทย์ปัญหา

          - ขวัญเลี้ยงปลาทองไว้ 570 ตัว

          - แบ่งใส่อ่าง อ่างละ 95 ตัว

          - จะได้กี่อ่าง

9630 13

ประโยคสัญลักษณ์ 570 ÷ 95 = ?

วิธีทำ

          ขวัญเลี้ยงปลาทองไว้      570     ตัว

          แบ่งใส่อ่าง อ่างละ          95      ตัว

          เนื่องจาก 570 ÷ 95 = 6

          ดังนั้น ขวัญแบ่งปลาทองใส่อ่าง ได้ 6 อ่าง

ตอบ 6 อ่าง

วิธีคิด 570 ÷ 95 = ?

9630 14

ดังนั้น 570 ÷ 95 = 6

ตรวจคำตอบ 570 ÷ 95 = 6

9630 15

ดังนั้น 95 × 6 = 570

ตัวอย่างที่ 7.

ถ้าแม่มีเงิน 2,560 บาท แบ่งให้ลูกคนละ 640 บาท เท่ากันทุกคน แม่จะแบ่งเงินทั้งหมดให้ลูกกี่คน

วิเคราะห์โจทย์

          - ถ้าแม่มีเงิน 2,560 บาท

          - แบ่งให้ลูกคนละ 640 บาท เท่ากันทุกคน

          - แม่จะแบ่งเงินทั้งหมดให้ลูกกี่คน

9630 16

 

ประโยคสัญลักษณ์ 2,560 ÷ 640 = ?

วิธีทำ

                   แม่มีเงิน                    2,560   บาท

                   แบ่งให้ลูกคนละ               640   บาท เท่ากันทุกคน

                   เนื่องจาก 2,560 ÷ 640 = 4

                   แม่จะแบ่งเงินทั้งหมดให้ลูก 4 คน

ตอบ 4 คน

วิธีคิด 2,560 ÷ 640 = ?

9630 17

ดังนั้น 640 × 4 = 2,560

แหล่งที่มา

ทรงวิทย์  สุวรรณธาดา และคณะ. (2553).  คณิตศาสตร์ ป.3. (ปรับปรุงใหม่).  กรุงเทพฯ; บริษัท สำนักพิมพ์แม็ค จำกัด.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2560).  คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3.  กรุงเทพฯ;  องค์การค้าของ สกสค.

Martha Ruttle. (2010).  BRIDGES IN MATHEMATICS Grade 4 Practice Book Blacklines. United States of America : The Math Learning Center. 

นิติกร ระดม. 2551. คู่มือครู อจท. คณิตศาสตร์ ป.3. กรุงเทพมหานคร ; อักษรเจริญทัศน์

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 2551.  หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานคณิตศาสตร์ ป.3.กรุงเทพมหานคร ; องค์การค้าของ สกสค.  

Gare, B., & Hoven, J. (2007). Singapore Math Using the Bar Model Approach : Simple or Complex. Educational Leadership. 65 NO 3 November 2007.

Greative Constructions. (2006). FACT FAMILIES.  สืบค้นเมื่อ 5 ธันวาคม 2561, จาก http:// greenmonsterlearning.com/pdf/CreativeConstructions.pdf

www.everydaymathonline.com. 4.6 Multiplication and division Fact Families. สืบค้นเมื่อ  5 ธันวาคม 2561, จาก https://emccss.everydaymathonline.com/em-crosswalk/pdf/3/g3_tlg_lesson_4_6.pdf

www.everydaymathonline.com. 4.6 Multiplication and division Fact Families.สืบค้นเมื่อ  5 ธันวาคม 2561, จาก https://emccss.everydaymathonline.com/em-crosswalk/pdf/1/g1_tlg_lesson_6_3.pdf

Math-Drills.com. (2005-2018).  fact family worksheets.  สืบค้นเมื่อ 5 ธันวาคม 2561, จาก https://www.math-drills.com/factfamilyworksheets.php

THE BLOG SURGERY. (2018). DIY Math Fact Family Triangles.สืบค้นเมื่อ 5 ธันวาคม 2561, จาก https://rainydaymum.co.uk/diy-math-fact-family-triangles/

 


Return to contents
Previous Page 1 / 3 Next Page
หัวเรื่อง และคำสำคัญ
การหาร, หารลงตัว, หารไม่ลงตัว
ประเภท
Text
รูปแบบการนำเสนอ แบ่งตามผลผลิต สสวท.
สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบดิจิทัล
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
วันที่เสร็จ
วันเสาร์, 08 ธันวาคม 2561
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
ปิยวดี เอ่งฉ้วน
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
คณิตศาสตร์
ระดับชั้น
ป.3
ช่วงชั้น
ประถมศึกษาตอนต้น
กลุ่มเป้าหมาย
ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป
  • 9628 การหาร ระดับชั้น ป.3 /lesson-mathematics/item/9628-2018-12-14-05-56-27
    คลิ๊กเพื่อติดตาม
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    คะแนนเฉลี่ย
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
    • Share
    • Tweet
    • Share

คุณอาจจะสนใจ
Recently added
  • สนุกคิดคณิตศาสตร์ ตอน การแยกตัวประกอบ...
  • AQ ทักษะสำคัญในยุคเทคโนโลยี AI...
  • รู้ไว้ใช่ว่า “ปัจจัยที่ส่งผลต่อการคงอยู่ของเชื้อโรค”...
  • สนุกคิดคณิตศาสตร์ ตอน ตัวประกอบ และจำนวนเฉพาะ...
  • วิธีการเลือกดอกไม้ของผึ้ง...
อ่านต่อ..

ค้นหาบทเรียน

กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทเรียนทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
  • คำถามที่พบบ่อย
Scimath คลังความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.

Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. , All Rights Reserved. 
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)